เมนู

อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ 6


วิโมกขสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิโมกฺขา ความว่า ชื่อว่าวิโมกข์เพราะสภาวะอะไร
เพราะสภาวะที่พ้นยิ่ง. ก็คือว่า สภาวะที่พ้นยิ่ง นี้คืออะไร ? คือ
สภาวะที่พ้นยิ่ง ด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึก และสภาวะที่พ้นยิ่ง
ด้วยดี จากอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านอธิบายไว้ว่า ความ
เป็นไปในอารมณ์ เพราะสภาวะที่ปราศจากความระแวงสงสัย โดย
ความไม่ยึดมั่น เหมือนทารกนอนปล่อยตัวบนตักบิดา ฉะนั้น. แต่
ความหมายนี้ ไม่มีในวิโมกข์หลัง มีในวิโมกข์ก่อนทั้งหมด.
ในบทว่า รูปี รูปนานิ ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- รูปคือ
รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจ นีลกสิณเป็นต้น ในอารมณ์
ทั้งหลายมีผมเป็นต้นในภายใน รูปฌานนั้นมีแก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น
ภิกษุนั้น ชื่อว่ารูปี ผู้มีรูปฌาน. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ความว่า ภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป มีนิลกสิณเป็นต้น แม้ที่มี
ในภายนอกด้วยฌานจักษุ ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
รูปาวจรฌานทั้ง 4 ของบุคคลผู้ให้ฌานเกิดในกสิณทั้งหลาย อัน
มีที่ตั้งทั้งภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี ความว่า
ผู้ไม่กำหนดรูปในภายใน อธิบายว่า ไม่ให้รูปาวจรฌานเกิดขึ้น
ในอารมณ์มีผมเป็นต้นของตน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรมในภายนอกแล้ว
ให้ฌานเกิดขึ้นในภายนอกนั่นเอง. ด้วยคำว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฌานในวรรณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้น
อันบริสุทธิ์ด้วยดี. ในคำว่า สุภนฺเตว "งาม" ความผูกใจว่า "งาม"
ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดกระทำสุภกสิณ
ที่บริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์อยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูกท่าน
พูดว่าเป็นผู้น้อมใจไปว่า "งาม" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำ
เทศนาไว้อย่างนั้น
แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
เป็นผู้น้อมใจไปว่างามนั้นอย่างไร ? ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุ
ในศาสนานี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ
อยู่. เพราะความที่ตนเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่
น่าเกลียด. มีจิตสหรคตกับกรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไป
ตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเจริญ (กรุณา มุทิตาและ)
อุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด. ท่านเป็นผู้ชื่อว่าน้อมใจ
ไปว่า งาม ด้วยอาการอย่างนี้
คำใดที่จะพึงกล่าวในคำว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ ดังนี้เป็นต้น
คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล. บทว่า
อยํ อฏฺฐโม วิโมกฺโข ความว่า นี้ ชื่อว่าเป็นวิโมกข์ที่ 8 เพราะสละ
คือ เพราะปล่อยขันธ์ทั้ง โดยประการทั้งปวง.
จบ อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ 6

14. ปฐมโวหารสูตร


[164] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร 8 ประการนี้ 8
ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้พูดในสิ่งไม่ได้เห็นว่าได้เห็น 1
ในสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง 1 ในสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ 1 ในสิ่ง
ที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ 1 ในสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น 1 ในสิ่งที่ได้ฟังว่า
ไม่ได้ฟัง 1 ในสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ 1 ในสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้
รู้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร 8 ประการนี้แล.
จบโวหารสูตรที่ 14